เป้าหมาย

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week10

เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ สามารถอธิบาย  หลักการใช้ โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีนิสัยรักการอ่าน และการเขียน  

Week

Input

Process

Output

Outcome
๑๐

๑๔ ๑๘
 ..
๒๕๕๗
โจทย์ :
- ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ตอน อะไรสักอย่าง
- โวหารและภาพพจน์


Key  Question
- นักเรียนถอดความหมายจากเรื่องอะไรสักอย่างแล้วเข้าใจว่าอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
 Brainstoms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share :  การนำเสนอเรื่องที่ศึกษาในรูปภาพวาดประกอบเรื่อง
และงานเขียนที่ใช้คำเพื่อมองให้เห็นภาพพจน์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ไม่มีหญิงสาวในบทกวีตอน อะไรสักอย่าง
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด



เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวเรื่องไม่มีหญิงสาวตามเงาจันทร์ในบทกวีที่อ่านผ่านมาแล้ว
 ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องไม่มีหญิงสาวในบทกวีตอน ตามอะไรสักอย่างโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร

สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนสรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพวาดประกอบเรื่อง
เชื่อม
- ครูให้นักเรียนนำเสนอภาพวาดประกอบเรื่องไม่มีหญิงสาวในบทกวีตอน อะไรสักอย่าง
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
- ครูอธิบายว่าสิ่งที่นักเรียนอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนั้นคือภาพพจน์ที่มักใช้ในวรรณกรรมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น
- นักเรียนศึกษาเรื่องภาพพจน์ ( คำอุปมาอุปไมย อุปลักษณ์  สัญลักษณ์ นามนัย  )แล้วเขียนสรุปในสมุดงาน
ใช้
นักเรียนเขียนเรื่องโดยเลือกคำที่นำมาเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพพจน์ และเข้าใจเรื่องชัดเจนมากขึ้น
นักเรียนนำเสนอผลงาน
เชื่อม
- นักเรียนนำเสนอผลงาน
- ครูและเพื่อนร่วมวิจารณ์งานเขียนร่วมกันทั้งสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม



- การแสดงความคิดเห็นและบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ภาพวาดประกอบเรื่อง
- สมุดงาน
- งานเขียนที่ใช้คำเพื่อมองให้เห็นภาพพจน์

ความรู้ : สามารถอธิบาย  
หลักการใช้ โวหารและภาพพจน์ ในงานเขียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับคำโวหารและภาพพจน์แล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้

ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลศึกษาเรื่องโวหารและภาพพจน์ ( คำอุปมาอุปไมย อุปลักษณ์  สัญลักษณ์ นามนัย  )
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ม.1 เรียนเรื่องไม่มีหญิงสาวในบทกวีตอน อะไรสักอย่าง จากนั้นได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านและสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งสรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบภาพวาดประกอบเรื่อง และสามารถอธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนั้นคือภาพพจน์ที่มักใช้ในวรรณกรรมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ

    ตอบลบ